สถิติ
เปิดเมื่อ20/08/2013
อัพเดท18/03/2014
ผู้เข้าชม34396
แสดงหน้า52205
สินค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




52917 ด.ช. เป็นหนึ่ง ศรีอำไพ

52917 ด.ช. เป็นหนึ่ง ศรีอำไพ
อ้างอิง อ่าน 4524 ครั้ง / ตอบ 5 ครั้ง

prateep46
กระดานสื่อสาร-นักเรียน-ครู-ผู้ปกครอง-โรงเรียน เพื่อสารสัมพันธ์ทีดีต่อกัน
 
prateep46 [email protected] [223.206.195.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

555
้่้้้้้hi
 
555 [202.29.188.xxx] เมื่อ 4/09/2013 15:24
2
อ้างอิง

ด.ช.เป็นหนึ่ง ศรีอำไพ
การเลี้ยงปลาทับทิมลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต 

ปลาทับทิม เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ง่าย เหมาะสำหรับเกษตรกรผู้มีทุนน้อยแต่อยากเลี้ยงปลาเชิงเพาณิชย์ เนื่องจากผลผลิตปลาทับทิมยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีน ต่างก็นิยมนำปลาทับทิมมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรบางรายที่นำปลาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ปลาร้า จำหน่าย จนสามารถทำกำไรและลดต้นทุน มีรายได้เสริมอย่างงดงาม ปัจจุบันเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้มีผลผลิตสูงขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้กลับมีสารพิษตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม จึงหันมาให้ความสำคัญกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
 
คุณสมชาย บำรุงศิลป์ เกษตรกรบ้านหนองหวาย อยู่บ้านเลขที่149 ม.5 ต.สามง่ามท่าโบสถ์ อ.หันคา จ.ชัยนาท เป็นเกษตรกรเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำท่าจีน ได้บอกเกี่ยวกับวิธีการผลิตอาหารเอง ในการใช้เลี้ยงปลาทับทิม ในเวลาไม่นานก็จะทำให้ได้น้ำหนักตัวตัวละ 1-1.2 กก. และให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพในการปรับสภาพน้ำบริเวณที่เลี้ยงปลาในกระชังโดยการปล่อยควบคู่กับสายปริงเกอร์เวลาปรับสภาพอากาศในกระชัง ทำให้น้ำไม่เน่าเสียและลดอุณหภูมิบริเวณผิวน้ำในกระชังเพื่อให้ปลามีอ๊อกซิเจนเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากเลี้ยงปลาทับทิมแล้วคุณสมชายยังได้เลี้ยงปลานิล และปลาดุกบิ๊กอุย ควบคู่ไปด้วย ในส่วนของการทำอาหารปลาลดต้นทุนโดยการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นอาหารปลานั้นสามารถลดต้นทุนเรื่องอาหารปลาได้เกือบ 50 % เลยทีเดียว การทำอาหารปลาในการใช้เลี้ยงปลาทับทิมกันโดยมีส่วนผสมตามนี้
อาหารปลาทับทิมสูตรลดต้นทุน
วัตถุดิบ
1.กล้วยสุก (พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น) 4 กก.
2.รำละเอียด ½ กก.
3.หัวอาหารปลาโปรตีน 35% 6 กก.
 
ขั้นตอนวิธีการทำ
1.นำกล้วย หรือเศษพืชที่เตรียมไว้มาบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด(อาจใช้วิธีการสับหรือตำให้ละเอียดด้วยครกได้ กรณีที่ไม่มีเครื่องบด)
2.จากนั้นเมื่อบดละเอียดแล้วเราจึงนำส่วนประกอบละเอียดแล้ว(ในข้อ 1) มาใส่ในเครื่องตีขนมจีนพร้อมกับรำละเอียด (กรณีไม่มีอาจใช้ใส่ในภาชนะเพื่อทำการผสมคลุกเคล้า)ให้เกิดลักษณะความเหนียว(อาหารจับตัวกันเป็นก้อน)
3.เมื่อสังเกตว่าเกิดความเหนียวเราจึงนำหัวอาหารปลามาใส่ลงไปตีผสมให้เข้ากัน
4.จากนั้นจึงนำใส่กระสอบตั้งพักไว้ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วจึงสามารถนำมาให้ปลากินได้
การนำไปใช้
เมื่อครบ 1 ชั่วโมงแล้ว เราสามารถนำมาหว่านให้ปลากินได้เลยตามอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาของเกษตรกรแต่ละราย

 
คุณสมชาย กล่าวว่าการเลี้ยงปลาทับทิมเกษตรกรต้องมีความอดทน ต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตว่าปลามีความเครียดหรือไม่ การกินอาหารมีโรคแทรกหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติต้องให้ยารักษา ให้วิตามิน ก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตแข็งแรง สำหรับการเลี้ยงบางครั้งการเลี้ยงปลาอาจมีการตายของปลา ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรนำปลาที่ตายมาดัดแปลง เช่น ทำน้ำปลา ทำปลาร้า ส่วนกระเพาะภายในของปลาก็นำมาทำปุ๋ยชีวภาพ ก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มาทดแทนปลาที่ตายไป และเป็นการลดต้นทุนทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
 
ด.ช.เป็นหนึ่ง ศรีอำไพ [202.29.188.xxx] เมื่อ 10/09/2013 12:58
3
อ้างอิง

ด.ช. ปาฏิหารย์
เยี่ยมม้ากมากเลย น่ะจ๊ะ
 
ด.ช. ปาฏิหารย์ [202.29.188.xxx] เมื่อ 11/09/2013 15:20
4
อ้างอิง

ด.ช.ศิวกร
เยี่ยมมาก
 
ด.ช.ศิวกร [115.67.34.xxx] เมื่อ 11/09/2013 22:15
5
อ้างอิง

ด.ช.เป็นหนึ่ง ศรีอำไพ

น้ำหมักชีวภาพ ทำง่าย ประโยชน์เพียบ

น้ำหมักชีวภาพ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สสส.

          ช่วงนี้เราอาจจะได้ยินชื่อ 'น้ำหมักชีวภาพ' บ่อยขึ้น ว่าแต่เพื่อน ๆ รู้จักไหมว่า จริง ๆ แล้ว 'น้ำหมักชีวภาพ' คืออะไร บริโภคได้หรือไม่ แล้วเราจะทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาใช้เองได้อย่างไร เอ้า...ตามมาดูกันเลย

          น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด 

          เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น 'น้ำหมักชีวภาพ' ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

           ด้านการเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

           ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

           ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

           ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

          ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย

          เห็นประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร

          เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้

          ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

           ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

          ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

          นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า 'หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ' เมื่อนำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง

          น้ำหมักชีวภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ สำหรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมีราขึ้น หากนำผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำหมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้

 
น้ำหมักชีวภาพ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ


วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น

          สูตรหนึ่งของการทำน้ำหมักชีวภาพมาดับกลิ่น คือ ใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน  ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ ได้อย่างดี

ข้อควรระวังในการใช้ น้ำหมักชีวภาพ

           1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

           2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

           3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

           4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค

          เราอาจเคยได้ยินข่าวว่า มีคนนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้บริโภคกันด้วย ซึ่งน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการบริโภค หรือ เอนไซม์ เป็นสารโปรตีน วิตามินเอ บี ซี ดี อี เค อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด เมื่อหมักระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู ซึ่งมีรสเปรี้ยว อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ มีรสขม ก่อนจะได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี แต่หากจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป

          โดยประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพนั้น หากมีการนวัตกรรมการผลิตที่ดีจะส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่น้ำหมักชีวภาพ ที่ขายอยู่ตามท้องตลาด มักเป็นน้ำหมักชีวภาพที่อยู่ในสภาพเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อดื่มกินแล้วอาจมีอาการร้อนวูบวาบ มึนงง และอาจทำให้ฟันผุกร่อนได้ เพราะน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำหมักชีวภาพแบบเข้มข้น 

          อย่างไรก็ตาม การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่ใช้บริโภคนั้น ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ หากดื่มกินเข้าไปก็เสี่ยงต่ออันตรายได้ โดยเฉพาะมีข้อมูลจาก สวทช. ร่วมกับ อย.ที่ได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่วางขายตามท้องตลาดมาตรวจสอบ พบว่า น้ำหมักชีวภาพเหล่านี้ แม้จะไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ เศษไม้ เศษดิน แต่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา ยีสต์ เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและตา โดยเฉพาะเมทานอล หรือเมธิลแอลกอฮอล์ที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้

          ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา รวมทั้งต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต แหล่งผลิต และบรรจุภัณฑ์หีบห่อด้วย แต่ถ้าหากจะนำ 'น้ำหมักชีวภาพ' มาใช้ในครัวเรือน หรือการเกษตร ลองทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและประหยัดที่สุด
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
ด.ช.เป็นหนึ่ง ศรีอำไพ [115.67.66.xxx] เมื่อ 12/09/2013 18:59
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :