สถิติ
เปิดเมื่อ20/08/2013
อัพเดท18/03/2014
ผู้เข้าชม32236
แสดงหน้า50028
สินค้า
ปฎิทิน
October 2023
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
    




52904 ด.ช. ดนุพร ชนชนะกูล

52904 ด.ช. ดนุพร ชนชนะกูล
อ้างอิง อ่าน 1897 ครั้ง / ตอบ 6 ครั้ง

prateep46
กระดานสื่อสาร-นักเรียน-ครู-ผู้ปกครอง-โรงเรียน เพื่อสารสัมพันธ์ทีดีต่อกัน
 
prateep46 prateepchanpo@hotmail.com [223.206.195.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
1
อ้างอิง

TLE

การปลูกมะนาว

การเพาะปลูก การปลูกมะนาว


 
พันธุ์มะนาวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และปลูกกันในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่
1. มะนาวหนัง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีกลมมนบ้างเล็กน้อย ด้านหัวมีจุกเล็ก ๆ มีเปลือกค่อนข้างหนา จึงทำให้เก็บรักษาผลไว้ได้นาน

2. มะนาวไข่ มีขนาดและลักษณะคล้ายมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมมนเป็นส่วนมาก เปลือกบาง ผลโตกว่ามะนาวหนัง

3. มะนาวแป้น เป็นมะนาวที่สามารถให้ดอกออกผลตลอดปี ผลมีขนาดกลาง ทรงผลแป้น เปลือกบาง มีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์แป้นรำไพ แป้นทราย เป็นต้น

การเตรียมพื้นที่ปลูก
1. พื้นที่ลุ่ม เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินใหัมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้อยู่สูงกว่า แนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อ ระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5X5 เมตร
2. พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4 x 4 - 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี มี ผลดกและคุณภาพดี ก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบาย น้ำดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ที่อยูใกล้แหล่งน้ำ

วิธีการปลูก 

1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน

2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร

3. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมให้ สูงประมาญ 2 ใน 3 ของหลุม

4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้ายและขวา)

6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก

7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม

8. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น

9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก

10. หาวัสถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง

11. รดน้ำให้โชก

12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การปฏิบัติดูแลรักษา

1. การให้น้ำ 
ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหา วัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสม อาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล

2. การใส่ปุ๋ย 
2.1 หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดินกำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำตามเพื่อ ให้ปุ๋ยละลาย
2.2 เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยตราบัวทิพย์ สูตร 2 ประมาณ ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ 2 ปี ก็เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของตน และเมื่อมะนาวอายุย่างเข้าปีที่ 3 ก็จะเริ่มให้ผลผลิต
2.3 ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น

ผลงานปุ๋ยตราบัวทิพย์

3. การกำจัดวัชพืช 
การกำจัดวัชพืชในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ
4. การค้ำกิ่ง 
เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่าม สอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้
2. การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก
5. การตัดแต่งกิ่ง 
เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดกปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

ประโยชน์ของ การปลูกมะนาว

มีวิตามินซีสูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ดี นอกจากนี้ยังมี ประโยชน์ด้านความงามโดย เอาเปลือกที่บีบเอาน้ำออกแล้ว นำมาทา บริเวณข้อศอก คาง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า จะช่วยให้ส่วนเหล่านั้นนุ่มนวลได้อย่างดี 

สำหรับใบหน้าสามารถแก้สิวฝ้าได้ในกรณีที่สิวไม่มีการอักเสบติดเชื้อเป็นหนอง ซึ่งมะนาวจะช่วยรักษาสิวให้ลดน้อยลงได้เพราะน้ำมะนาวมีสภาวะเป็นกรดอ่อน ๆ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ตายแล้วหลุดออกไป ทำให้ลดการอุดตันของรูขุมขน ช่วยกำจัดเชื้อโรคและไขมันได้ด้วย การใช้แป้งดินสอพองกับน้ำมะนาวทาบริเวณที่เป็นสิวก่อนนอนทุกวัน สิวจะค่อย ๆ ยุบหายไปในที่สุด ส่งผลให้ใบหน้าสวยใส 

นอกจากนี้

1.ทำเบบี้เฟซ หรือหน้าดูเด็ก

วิธีทำ เอาน้ำมะนาวคั่นแล้วครึ่งลูก ผสมกับดินสอพองหมักทิ้งไว้สักพัก จากนั้นนำมาทาเบาๆให้ทั่วใบหน้าก่อนนอน ทิ้งไว้ 1 คืน เช้าขึ้นมาล้างหน้าด้วยน้ำธรรมดา แล้วลองลูบไล้ใบหน้าตัวเองดุ จะรู้สึกว่าใบหน้าเราช่างลื่น นุ่มละมุนเสียนี่กระไร หมั่นทำบ่อยๆหน้าจะดูใสอ่อนวัยไปเอง

2.วิธีขจัดตีกา บนใบหน้า

วิธีทำ นำน้ำมะนาว 1 ส่วน น้ำผึ้ง 2 ส่วน ผสมให้เข้ากัน นำมาทาบริเวณรอยประทับของตีนกา ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า ทำอย่างนี้วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น จะช่วยกระตุ้นให้เวลล์ผิวหนังรุ่นใหม่เจริญเติบโตขึ้นมาทดแทนเซลล์รุ่นเก่าที่รอยเหี่ยวย่น ทำบ่อยๆ ก็จะหายไปเอง

3.ทำผมสวย

วิธีทำ เส้นผมของคนเราชอบความเป็นกรดอ่อนๆ หนังศีรษะของคนเราก็ชอบกรดอ่อนๆแต่แชมพูที่เราซื้อมา จะเป็นด่าง ด่างกับกรดก็ไม่ถูกกัน เส้นผมหนังหัว สระล้างด้วยด่างเป็นประจำ ทำให้ผมแห้งกรอบพันกัน หนังศีรษะแห้ง ตกสะเก็ดกลายเป็นรังแค ถ้าแพ้มากๆ หนังศีรษะอักเสบหรือมีผมร่วงมีสิทธิ์หัวลานได้ง่าย เมื่อสระผมเส้นแล้ว ต้องการปรับสภาพเส้นผมให้กลับมาเป็นกรดใช้มะนาว นี่แหละครีมนวดชั้นดี เพราะน้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรด ให้เอาน้ำมะนาว 30 ซีซี. หรือประมาณ 6 ช้อนชา ผสมกับน้ำ 1 ลิตร สามารถเอามาใช้แทนครีมนวดผมได้สบายมาก

4.ใช้เป็นยาสารพัดโรค

วิธีทำ เนื่องจากมะนาวมีสรรพคุณช่วยขจัดสารพิษ สิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายดื่มน้ำมะนาวบ่อยๆ นอกจากจะช่วยขับปัสสาวะให้สะดวกแล้ว น้ำมะนาวยังช่วยขจัดเสมหะ และแก้ไอได้ โดยการใช้มะนาว น้ำผึ้ง น้ำสุก อย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากันและค่อยจิบ จิบจนหมด แต่ต้องไม่ลืมบ้วนปาก เพราะถ้ากรดมะนาวเหลือตกในช่องปากกรดมะนาวจะกัดผิวฟันให้กร่อนได้

5.สูตรลดความอ้วน
วิธีทำ ทุกเช้าตื่นขึ้นมาดื่มน้ำมะนาวคั้น 1 ลูก ผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้ว และก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อให้ดื่มน้ำมะนาวคั้นครึ่งลูก ผสมกับน้ำอุ่นน้ำเย็นได้ทั้งนั้น แต่ก้มีข้อแม้คือห้ามใส่น้ำตาลลงไป ในน้ำมะนาวเด็ดขาด ส่วนเกลือนั้นเติมลงได้
 
TLE [101.51.69.xxx] เมื่อ 4/09/2013 19:38
2
อ้างอิง

TLE

  งานวิชาการเกษตรดำเนินกิจกรรมการศึกษาทดสอบ
การเพาะเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ 
เห็ดขอนขาว เห็ดยานางิ(เห็ดโคนญี่ปุ่น) เป็นต้น และขยายผลสู่เกษตรกร
ในพื้นที่ศูนย์ฯ โดยการนำเกษตรกรที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม 
ฝึกปฏิบัติและกลับไปเพาะเห็ดในพื้นที่ของตนเอง 
ระยะแรกเกษตรกรก่อตั้งกลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจ สมาชิก 4 ราย
ดำเนินการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อส่งจำหน่ายตลาดในท้องถิ่น 
           ปัจจุบันกลุ่มเพาะเห็ดมีสมาชิก 10 ราย ทำการเพาะเห็ด ยานางิ 
เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่า มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,000 บาท/เดือน
นอกจากนี้กลุ่มยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ด
แก่เกษตรกรผู้สนใจงานวิชาการเกษตรศูนย์ฯได้ดำเนินโครงการ
เพื่อสนับสนุนงานอาหารกลางวัน โดยการให้โรงเรียนในพื้นที่ศูนย์ฯ และนอกพื้นที่
ที่มีความสนใจ นำนักเรียนเข้าฝึกปฏิบัติทำก้อนเชื้อเห็ดและนำก้อนเห็ด
ที่ได้กลับไปเปิดดอกที่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวันและ
ยังเป็นการเพิ่มทักษะวิชาชีพแก่นักเรียน เห็ด เป็นอาหารที่รู้จักกันมานาน 
ว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมได้ด้วยโปรตีนเทียบเท่ากับ
เนื้อสัตว์เป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวมังสวิรัติ และในปัจจุบันเห็ดชนิดต่างๆ 
ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
3.การทำก้อน

 


เห็ดยานางิ
เห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ด

สูตรอาหาร PDA

1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
4.น้ำสะอาด 1,000 cc

วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ

- นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
  นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
- กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว 
- บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
- นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 
   นาน 25-30 นาที
- เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
- เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ

การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง

1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง                 
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก                                                                                    
3.ผึ่งให้แห้ง                                                                                                   
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ

5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด    
6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA
          
                การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย 
เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น 
หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
และจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น

 
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

สูตรอาหารก้อนเชื้อ

-  ขี้เลื่อย 100 กก.                    - รำละเอียด 5 กก.                 - ดีเกลือ 0.2 กก              
- ปูนขาว 1 กก.                        - น้ำสะอาด 70-75%

ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ

ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
- หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่
  ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ
  ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
-  บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนัก
  ขนาด 8 ขีด - 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ
   แล้วรัดยางวงให้แน่น
-  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
-  นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน 
   เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ
   ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ก่อนทุกครั้ง
-  นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป

การบ่มก้อนเชื้อ

       หลังจากใส่เชี้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อ
หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส 
เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง
มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที 
หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม
เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด 
อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน

การปฏิบัติดูแลรักษา

        เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใย
ประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก
รักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือน
ไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง 
นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด 
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง

การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ

       ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อน
ดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น 
วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก. 
ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ 
พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ 
เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่ 
ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง 
อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก 
โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้

http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/agricul.htm

 
TLE [202.29.188.xxx] เมื่อ 10/09/2013 13:03
3
อ้างอิง

TLE
การเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้ขนาดไข่ได้ขนาดฟองโต อายุการให้ไข่นาน ประสิทธิภาพการใช้อาหารเพื่อผลิตไข่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดโรคแทรกซ้อนน้อย อัตราการตายต่ำกว่าและอัตราการคัดทิ้งต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดการเลี้ยงดูเอาใจใส่เป็นอย่างดีตั้งแต่ลูกไก่ ไก่เล็ก ไก่รุ่น ไก่สาวนั่นเอง ดังนั้นไก่ไข่หรือก่อนให้ไข่ถือว่าเป็นช่วงที่การลงทุนสูงที่สุดแล้ว เพราะระยะต่อจากนี้ไปต้นทุนการผลิตจะเริ่มลดน้อยถอยลงตามอายุของการให้ไข่ ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อให้ไก่ไข่นั้นให้ผลผลิตสูงเป็นระยะเวลาที่นานที่สุดนั้นก็หมายความว่า ผู้เลี้ยงจะได้ค่าตอบแทนสูงนั่นเอง

ความพร้อมของโรงเรียนและอุปกรณ์

การเลี้ยงไก่เพื่อให้ผลผลิตสูงสุด ก่อนที่ไก่ไข่จะให้ผลผลิต 2-4 สัปดาห์ ฝูงไก่รุ่นควรจะย้ายออกจากโรงเรือนเดิม (ไก่เล็กหรือไก่รุ่น ไก่สาว) ไปเลี้ยงในโรงเรือนไก่ไข่ โรงเรือนไก่ไข่ที่ดีควรมีการถ่ายเทอากาศดี ไม่ร้อนอบอ้าว โดยมีขนาดความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนความยาวของโรงเรือนจะมีกรงตับ รางน้ำ รางอาหารที่ปฏิบัติงานสะดวกรวดเร็วและทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในโรงเรือนโดยล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคภายในโรงเรือนและรอบนอกของโรงเรือน พร้อมมีระยะพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนย้ายเข้าภายในโรงเรือน
ในกรณีเลี้ยงแบบปล่อยพื้นก็ไม่จำเป็นต้องย้ายไก่ไข่อยู่โรงเรือนใหม่ก็ได้ ไก่จะไม่ต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่อุปกรณ์ที่ต้องเพิ่มเข้าไปนอกจากรางน้ำ รางอาหารที่มีอย่างเพียงพอแล้วก็คือ รังไข่ โดยนำรังไข่ (nest) ใส่ในตอนช่วงอายุประมาณ 18-20 สัปดาห์ หรือก่อนที่ไก่จะให้ผลผลิต 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้ฝูงไก่เหล่านั้นคุ้นเคย อัตราส่วนของรังไข่ (nest) ต่อจำนวนไก่คือ 1 รัง ต่อจำนวนไก่ไข่ 5-6 ตัว หากเป็นรังไข่ที่ใช้แล้วก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน โดยผูกหรือตั้งเรียงรายให้ทั่วโรงเรือนเพื่อมิให้เกิดปัญหาไก่แย่งรังไข่กัน ทำให้ไข่เปลือกบุบหรือแตกเกิดความเสียหาย
ส่วนการเลี้ยงแบบกรงตับซึ่งต้องมีการขนย้ายจากโรงเรือนเดิม เข้าสู่โรงเรือนไก่ไข่นั้น ก่อนที่จะมีการย้าย 1-2 สัปดาห์ ควรให้อาหารและน้ำอย่างเต็มที่แก่ฝูงไก่เหล่านั้น โดยการเพิ่มอุปกรณ์ใส่น้ำและอาหารมากขึ้น เพื่อให้ไก่กินน้ำและอาหารได้อย่างเต็มที่มากขึ้น พร้อมกับการละลายยาปฏิชีวนะและไวตามินลงในน้ำดื่มให้กับฝูงไก่ก่อนการขนย้ายด้วย วิธีการขนย้ายควรทำในเวลากลางคืนอากาศเย็นสบาย จะลดการตื่นเต้นตกใจของไก่ ขนย้ายด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และไม่ควรใส่ไก่ในกรงแน่นเกินไป เพราะการย้ายฝูงไก่ดังกล่าวเข้าโรงเรือนไก่ไข่ ผลกระทบต่อการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ไก่จะเกิดสภาวะเครียดสูงมาก และควรคัดไก่ที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ ไก่แคระแกร็น หรือพิการออกด้วย

ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการให้ไข่

ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการให้ไข่ของไก่มีหลายปัจจัย คือ
อุณหภูมิ (Temperature) ไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ การระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่สามารถระบายออกทางผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้นการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยหายใจเอาอากาศเข้าไปในปอด เข้าถุงลม ส่วนน้ำที่ไก่กินเข้าไปบางส่วนจะระเหยรวมออกมากับอากาศที่ไก่หายใจออก เนื่องจากร่างกายไก่ไม่มีความร้อน (การระเหยของน้ำเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร้อน) ดังนั้นการหายใจก็จะนำความร้อนออกมาด้วย ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของไก่ โดยมีต่อม Hypothararmus ต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่เสมือนศูนย์ควบคุมการปรับอุณหภูมิของร่างกายไก่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ถ้าอุณหภูมิสูงร่างกายจำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลงโดยการอ้าปาก หอบ กางปีก กินน้ำมากขึ้น ถ่ายเหลว และกินอาหารน้อยลง แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำร่างกายจำเป็นต้องสร้างความร้อนเพื่อชดเชย โดยห่อตัวนอนสุมชิดกันเป็นกลุ่ม หรือนอนโดยเอาหัวซุกไว้ที่ปีก กินอาหารเพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ หรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงจะอยู่ระหว่าง 1-27 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าการให้ไข่จะลดลง เปลือกไข่บาง ไข่มีลักษณะเล็กลง ไก่จะกินน้ำมากขึ้นและอาหารน้อยลง ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง เพราะอาหารที่กินจะต้องนำไปสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกายมากขึ้น ปริมาณการไข่ก็จะลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน ไม่ว่าสูงหรือต่ำ จะมีผลกระทบต่อการไข่ของไก่รุนแรงกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะไก่สามารถปรับตัวได้นั่นเอง
การถ่ายเทหรือการระบายอากาศ (Ventilation) โรงเรือนไก่ไข่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการระบายอากาศ หากสร้างโปร่ง การหมุนเวียนถ่ายเทอากาศดี อากาศเสียจะถูกขับออกนอกโรงเรือนและอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะเข้าไปแทนที่ โดยนำความร้อนจากภายในโรงเรือนออกไปด้วย นอกจากนั้นจะเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งไก่ก็สามารถทนได้ แต่ถ้าการระบายอากาศไม่ดีสุขภาพของไก่จะไม่แข็งแรง โรคจะแทรกได้ง่ายขึ้น นอกจากโรงเรือนที่สร้างโดยเน้นให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีแล้วก็ตาม แต่จำนวนไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในโรงเรือนมีมาก เพื่อประหยัดการใช้พื้นที่และแรงงาน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความร้อนภายในโรงเรือนสูงขึ้น จึงควรใช้พัดลมช่วยดันอากาศอีกทางหนึ่งก็ยิ่งเป็นผลดี
โปรแกรมแสงสว่าง การเลี้ยงไก่ไข่แสงสว่างมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเมื่อไก่มีอายุ 6-22 สัปดาห์ โดยค่อย ๆ เพิ่มแสงให้สัปดาห์ละ 1/2-1 ชั่วโมง จนครบ 4 ชั่วโมง รวมแสงะรรมชาติอีก 12 ชั่วโมงต่อวัน รวมเป็น 16 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอต่อความต้องการ เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตสูง หรืออายุการให้ไข่นานและจะใช้แสงเช่นนี้ไปจนกว่าไก่จะหมดไข่ หรือปลดจำหน่าย ในการปลดไก่ ผู้เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการค้าจะเปิดแสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ไก่กินอาหารได้เต็มที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักตัวก่อนการส่งตลาดนานประมาณ 7-10 วัน
ความชื้นสัมพัทธ์ (Rekatuve Humidity) ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมประมาณ 50-80 % ซึ่งถ้าความชื้นในอากาศต่ำ การระบายความร้อนออกจากร่างกายจะระบายได้ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยมักจะเจอปัญหาเรื่องความชื้นในฤดูฝน (ร้อน-ชื้น) ซึ่งทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ดีนัก วิธีการลดความร้อนและความชื้นออกจากโรงเรือนใช้พัดลมระบายอากาศช่วยไล่ความร้อนและความชื้นออกจากโรงเรือน หรือใช้วัสดุมุงหลังคาที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี และไม่เก็บสะสมความร้อน
การให้อาหารไก่ไข่ เป้าหมายสำคัญของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และมีประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ไข่ 1 ฟองต่ำที่สุด อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตไข่ 1 ฟอง เป็นค่าอาหารประมาณ 60% ดังนั้นจะมีผลเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องอัตราการให้ไข่ และขนาดตัวของไก่ด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเลือกสายพันธุ์ไก่ที่มีอัตราการให้ไข่ดกและขนาดตัวเล็กเพื่อประหยัดค่าอาหาร นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ฤดูกาลก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการกินอาหารและการให้ผลผลิตของไก่ไข่ ดังนั้นสูตรอาหารควรเปลี่ยนตามฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนเปอร์เซ็นต์การให้ไข่ลดลง เปลือกไข่บาง เพราะกินอาหารได้น้อย จำเป็นต้องเพิ่มเปอร์เซ็นต์โปรตีนให้สูงขึ้น เพื่อให้ไก่ไข่ได้โปรตีนตามความต้องการของร่างกาย ทางตรงข้ามฤดูหนาวอากาศเย็น ไก่จะกินอาหารได้มากขึ้นเพื่อให้ได้ปริมาณพลังงานที่เพียงพอ เพื่อสร้างความอบอุ่นที่เป็นผลต่อร่างกาย ดังนั้นระดับเปอร์เซ็นต์โปรตีนควรลดลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต

อายุการไข่ของไก่ไข่

ไก่ไข่พันธุ์ทางการค้าโดยทั่วไปจะเริ่มให้ไข่เมื่อประมาณ 21-22 สัปดาห์ และมีแนวโน้มว่าอายุการให้ไข่จะให้ไข่ที่อายุน้อยลง อนาคตคาดว่าไก่ไข่จะเริ่มให้ไข่ที่อายุ 19-20 สัปดาห์ ทั้งนี้เพราะความสามารถของนักปรับปรุงพันธุ์ เพื่อต้องการให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำสุดและให้ผลผลิตเร็วที่สุด โดยทั่วไปไก่ไข่จะให้ไข่สูงสุดหลังจากอายุการไข่ประมาณ 8-12 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน ซึ่งระยะการให้ไข่สูงสุด (Peak Production) จะยาวนานประมาณ 10-20 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการและดูแล

วิธีการจัดการเพื่อให้ระดับการให้ไข่สูงสุด

ในการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้ไก่ไข่มีช่วงอายุการให้ไข่สูงสุดยืนอยู่ได้มากน้อยเพียงใด นอกจากจะต้องมีการจัดการเลี้ยงดูฝูงไก่ให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ตั้งแต่แรกจนถึงก่อนไข่แล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่น
- ฤดูกาล ถ้าช่วงการให้ไข่สูงสุดตรงกับฤดูร้อน ย่อมทำให้ระยะการให้ไข่สูงสุดสั้นลง แนวทางแก้ไขคือ ปรับสูตรอาหารที่เหมาะสม ลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน
- สภาวะแวดล้อม ถ้าช่วงการให้ไข่สูง (Peak Production) ต้องเจอกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันบ่อย ๆ ย่อมทำให้ช่วงการให้ไข่สูงสุดสั้นลงเช่นกัน แนวทางแก้ไขควรติดตามการพยากรณ์อากาศอยู่เสมอ เพื่อที่จะหาทางป้องกันล่วงหน้าโดยให้ไก่ได้รับไวตามิน หรือยาปฏิชีวนะ
- การจัดการเรื่องอาหาร จะสังเกตได้ว่าในช่วงการให้ไข่สูงสุด ไก่จะกินอาหารเพิ่มมากขึ้นหากผู้เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มปริมาณอาหารให้ได้มากขึ้นตามความต้องการขึ้นไปเรื่อย ๆ ย่อมทำให้ช่วงระยะเวลาของ Peak Production ยาวนานขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นวันละน้อย ๆ 2-3 กรัม (ปกติให้โดยเฉลี่ยต่อประมาณ 110 กรัม) และเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่ผู้เลี้ยงเพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้น แต่เปอร์เซ็นต์การให้ไข่ไม่เพิ่มขึ้น ผู้เลี้ยงควรจะหยุดปริมาณอาหารที่จุดนั้น และถ้าเปอร์เซ็นต์การให้ไข่ลดลงผู้เลี้ยงก็ต้องลดปริมาณอาหารลงตามด้วย ซึ่งในที่สุดก็อยู่คงที่ ปริมาณการกินอาหารเฉลี่ยต่อตัวต่อวันประมาณ 110 กรัม 
หมายเหตุ อายุการให้ไข่นับจากเริ่มไข่ 5% คือสัปดาห์ที่ 1 ของการให้ไข่และเมื่ออายุการไข่ 53 สัปดาห์ เปอร์เซ็นต์การให้ไข่จะต่ำลง ถึงจุดที่ผู้เลี้ยงไม่มีกำไรและปลดจำหน่ายในที่สุด

 

อัตราการไข่
ในการคิดคำนวณอัตราในการไข่ คิดได้ 2 วิธีคือ
1. Hen Day Production โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไข่ของไก่ทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น ๆ โดยไม่รวมไก่ไข่ที่ขายหรือคัดออกไปแล้ว
สูตรการคิดคือ จำนวนไก่ทั้งหมด x 100 = เปอร์เซ็นต์การไข่ของไก่ที่เหลือ
                จำนวนไก่ที่เหลือขณะนั้น
สมมติว่ามีไก่ 1,000 ตัว ให้ไข่ต่อวัน 800 ฟอง
          = 800 x 100 = 80%
            1,000
2. Hen Housed Production โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไข่ของทั้งหมดที่เริ่มจำนวนทั้งหมดที่นำเข้าโรงเรือนไก่ไข่
สูตรการคิดคือ จำนวนไข่ทั้งหมด x 100 = เปอร์เซ็นต์การให้ไข่ของไก่ทั้งหมด
                จำนวนไก่ทั้งหมดที่เริ่มไข่
สมมติว่ามีไก่เริ่มต้นนำเข้าเพื่อให้ไข่ 1,000 ตัว ให้ไข่วันนี้ 850 ฟอง
          = 800 x 100 = 85%
            1,000
การหาอัตราของไข่โดยวิธี Hen Housed Production ทำให้ผู้เลี้ยงต้องใช้ความสามารถในด้านการจัดการเลี้ยงดูเพื่อมิให้ไก่ตาย หรือถูกคัดทิ้งออกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจการ

ลักษณะของไก่ที่ไข่ดีและไข่ไม่ดี

การศึกษาถึงลักษณะของไก่ที่ไข่ดีและไข่ไม่ดี ยังคงมีความจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตดูลักษณะต่าง ๆ ของร่างกายที่ปรากฎให้เห็น ถึงแม้ว่าปัจจุบันไก่ไข่ทางการค้าจะให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีไก่บางตัวในฝูงไม่ให้ไข่หรือกินอาหารฟรีแต่ไม่ให้ไข่ ถ้าผู้เลี้ยงคัดไก่ประเภทดังกล่าวออกย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
ตารางเปรียบเทียบไก่ที่กำลังไข่ และไก่ที่หยุดไข่
ลักษณะ ไก่ที่กำลังไข่ ไก่ที่หยุดไข่
หงอนและเหนียง แดงสดใส อ่อนนุ่ม มีขนาดใหญ่ ซีดไม่สดใส หยาบ ตกสะเก็ด เล็กลง
นัยน์ตา นูนเด่นสดใส ไม่นูนเด่น ไม่สดใส
ขอบตา จงอยปาก (Eye-ring, Beak) ปรากฎเม็ดสี (Pigment) พวก Xantho PhyII  
ขน (Plumage) แห้ง ขาด ไม่เงางาม เป็นมันเงางาม
แข้ง ขาวซีด ปรากฎสีเหลืองให้เห็น
ก้น (Vent) เปียกชุ่ม ขยายกว้าง อ่อนนุ่ม ปรากฎสีเหลือง แห้ง เล็ก หยาบ
กระดูกเชิงกราน (Pubic Bones) ขยายกว้างเกินกว่า 2-3 นิ้วมือ แคบเข้าหากัน
ช่องท้อง (Abbomen) ลึกและกว้างเกินกว่า 3-4 นิ้ว ตื้นและแคบน้อยกว่า 3 นิ้วมือ
ตารางเปรียบเทียบไก่ที่ให้ไข่นาน และให้ไข่ไม่นาน
ลักษณะ ไก่ไข่นาน ไก่ไข่ไม่นาน
ระยะการให้ไข่ (Laying Peirod) ไข่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (ตับไข่ถี่) และหยุดไข่เพียงระยะ 1-2 วัน ไข่ติดต่อกันไม่นาน (ตับไก่ห่าง) และหยุดไข่หลายวัน หรือไข่ 1 วัน เว้น 1 วัน ไข่ 3 วัน หยุด 4 วัน เป็นต้น
ขน (Plumage) แห้ง ขาดรุ่งริ่ง ไม่เรียบร้อย แนบชิดลำตัว สะอาด หลวม
เวลาผลัดขน เริ่มผลัดขนช้า และผลัดอย่างรวดเร็ว เริ่มผลัดขนเร็วและใช้เวลาในการผลัดขนนาน
ข้อเปรียบเทียบไก่ที่ให้ไข่ดก และไก่ที่ให้ไข่ไม่ดก
ลักษณะ ไก่ไข่ดก ไก่ไข่ไม่ดก
ความลึกของลำตัว ลึกประมาณ 3-4 นิ้วมือ ลำตัวตื้นน้อยกว่า 3-4 นิ้วมือ
แข้ง เป็นเหลี่ยมเป็นมุม แข้งค่อนข้างกลม
หนัง อ่อนนุ่ม บางและหลวม แข็ง หนา หยาบมีไขมันมาก
นัยน์ตา นูนเด่น สดใส ไม่นูนเด่น ขุ่นมัว
ก้น เปียกชุ่ม ขยายใหญ่ ปลิ้นออกง่าย ไม่ค่อยเปียกชุ่ม ปลิ้นออกยาก
หงอนและเหนียง ใหญ่ แดงสดใส และอ่อนนุ่ม เล็ก ไม่สดใส และไม่ค่อยอ่อนนุ่ม
กระดูกเชิงกราน ชี้ตรง และกว้าง ชี้เข้าหากัน และหนา
ผิวหนัง อ่อนนุ่ม บาง หลวม หนา ไขมันมาก
หน้า เล็ก หนังที่หน้าไม่หยาบ อ้วน หนังที่หน้าหยาบ
เม็ดสี Pigment ที่ปรากฎตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะจางไปตามจำนวนไข่ที่ได้ จะจางหายไปน้อยกว่าจำนวนไข่ที่ควรจะได้
http://www.ku.ac.th/e-magazine/july47/agri/hen.html
 
TLE [101.51.104.xxx] เมื่อ 11/09/2013 18:58
4
อ้างอิง

ด.ช.ดนุพร ชนชนะกูล
การเลี้ยงปลาทับทิมลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต 

ปลาทับทิม เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ง่าย เหมาะสำหรับเกษตรกรผู้มีทุนน้อยแต่อยากเลี้ยงปลาเชิงเพาณิชย์ เนื่องจากผลผลิตปลาทับทิมยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีน ต่างก็นิยมนำปลาทับทิมมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรบางรายที่นำปลาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ ปลาร้า จำหน่าย จนสามารถทำกำไรและลดต้นทุน มีรายได้เสริมอย่างงดงาม ปัจจุบันเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้มีผลผลิตสูงขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้กลับมีสารพิษตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม จึงหันมาให้ความสำคัญกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
 
คุณสมชาย บำรุงศิลป์ เกษตรกรบ้านหนองหวาย อยู่บ้านเลขที่149 ม.5 ต.สามง่ามท่าโบสถ์ อ.หันคา จ.ชัยนาท เป็นเกษตรกรเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำท่าจีน ได้บอกเกี่ยวกับวิธีการผลิตอาหารเอง ในการใช้เลี้ยงปลาทับทิม ในเวลาไม่นานก็จะทำให้ได้น้ำหนักตัวตัวละ 1-1.2 กก. และให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพในการปรับสภาพน้ำบริเวณที่เลี้ยงปลาในกระชังโดยการปล่อยควบคู่กับสายปริงเกอร์เวลาปรับสภาพอากาศในกระชัง ทำให้น้ำไม่เน่าเสียและลดอุณหภูมิบริเวณผิวน้ำในกระชังเพื่อให้ปลามีอ๊อกซิเจนเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากเลี้ยงปลาทับทิมแล้วคุณสมชายยังได้เลี้ยงปลานิล และปลาดุกบิ๊กอุย ควบคู่ไปด้วย ในส่วนของการทำอาหารปลาลดต้นทุนโดยการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นอาหารปลานั้นสามารถลดต้นทุนเรื่องอาหารปลาได้เกือบ 50 % เลยทีเดียว การทำอาหารปลาในการใช้เลี้ยงปลาทับทิมกันโดยมีส่วนผสมตามนี้
อาหารปลาทับทิมสูตรลดต้นทุน
วัตถุดิบ
1.กล้วยสุก (พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น) 4 กก.
2.รำละเอียด ½ กก.
3.หัวอาหารปลาโปรตีน 35% 6 กก.
 
ขั้นตอนวิธีการทำ
1.นำกล้วย หรือเศษพืชที่เตรียมไว้มาบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด(อาจใช้วิธีการสับหรือตำให้ละเอียดด้วยครกได้ กรณีที่ไม่มีเครื่องบด)
2.จากนั้นเมื่อบดละเอียดแล้วเราจึงนำส่วนประกอบละเอียดแล้ว(ในข้อ 1) มาใส่ในเครื่องตีขนมจีนพร้อมกับรำละเอียด (กรณีไม่มีอาจใช้ใส่ในภาชนะเพื่อทำการผสมคลุกเคล้า)ให้เกิดลักษณะความเหนียว(อาหารจับตัวกันเป็นก้อน)
3.เมื่อสังเกตว่าเกิดความเหนียวเราจึงนำหัวอาหารปลามาใส่ลงไปตีผสมให้เข้ากัน
4.จากนั้นจึงนำใส่กระสอบตั้งพักไว้ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วจึงสามารถนำมาให้ปลากินได้
การนำไปใช้
เมื่อครบ 1 ชั่วโมงแล้ว เราสามารถนำมาหว่านให้ปลากินได้เลยตามอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาของเกษตรกรแต่ละราย

 
คุณสมชาย กล่าวว่าการเลี้ยงปลาทับทิมเกษตรกรต้องมีความอดทน ต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตว่าปลามีความเครียดหรือไม่ การกินอาหารมีโรคแทรกหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติต้องให้ยารักษา ให้วิตามิน ก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตแข็งแรง สำหรับการเลี้ยงบางครั้งการเลี้ยงปลาอาจมีการตายของปลา ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรนำปลาที่ตายมาดัดแปลง เช่น ทำน้ำปลา ทำปลาร้า ส่วนกระเพาะภายในของปลาก็นำมาทำปุ๋ยชีวภาพ ก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มาทดแทนปลาที่ตายไป และเป็นการลดต้นทุนทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
 
ด.ช.ดนุพร ชนชนะกูล [101.51.104.xxx] เมื่อ 11/09/2013 18:59
5
อ้างอิง

ด.ช.ดนุพร ชนชนะกูล
 

                                                  การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

 

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน 

การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน ไร่

 


  การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาดุก

    ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้

1. สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี

2. สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี

3. สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. ทางคมนาคมสะดวก

 

   การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

1. บ่อใหม่ - ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ- เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วันจนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

2. บ่อเก่า - ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส- ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่- ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน- นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ- เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียวก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5

 

  การเตรียมพันธ์ปลา การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา

2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผลไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกันการปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค

    ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอัตราการปล่อยเกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย 80,000-100,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริงอาหารและการให้อาหาร

 

ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษการเลือกซื้ออาหาร ลักษณะของอาหาร - สีสันดี- กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน- ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น- การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน- อาหารไม่เปียกชื้น ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นราประเภทของอาหารสำเร็จรูป - อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน ใช้สำหรับลูกปลาขนาด1 – 4 เซนติเมตร- อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ ใช้สำหรับลูกปลาขนาด เซนติเมตร – 1 เดือน-อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3 เดือน- อาหารปลาดุกใหญ่ ใช้สำหรับปลาอายุ เดือน ส่งตลาดวิธีการให้อาหารปลา เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา 30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ สัปดาห์หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ เดือน

 

ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่ ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที่ โดยให้อาหาร มื้อ ในกรณีปลาป่วยหรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำหรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาว ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ 3-5 กรัมต่ออาหาร กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน วัน เช่น อาออกชีเตตร้าซัยคลิน ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ เช่นถ้าพบปลิงใส เห็บระฆัง เกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น30-40 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด

 

 
ด.ช.ดนุพร ชนชนะกูล [101.51.104.xxx] เมื่อ 11/09/2013 19:01
6
อ้างอิง

ด.ช.ดนุพร ชนชนะกูล
 
                ปลากัด  มีชื่อสามัญว่า  Siamese  Fighting  Fish   เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว   เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว   ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด   ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก   ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว   และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน   ทางราชการจะมีการอนุญาตให้เปิดสถานที่สำหรับเดิมพันการกัดปลา   เรียก บ่อนปลากัด  หรือ  บ่อนกัดปลา   มาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
                การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก   ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น  เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน   ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม   แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ  เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้   ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม   จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก   ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม   จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด   ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ   สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี   โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง   เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน   แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ
.
      
ภาพที่ 1  ลักษณะภาชนะรูปแบบต่างๆที่สวยงามนำมาใช้เลี้ยงปลากัด
                                ที่มา : http://www.bettatalk.com/images/betta_in_a_vase.jpg (ภาพ 1 )
                                        http://www.siamsbestbettas.com/gallery.html (ภาพ 2 )
                                        http://www.cbsbettas.org/petbetta.html (ภาพ 3 )
                                        http://www.cleavelin.net/archives/DSC01048.JPG (ภาพ 4 )
 
ด.ช.ดนุพร ชนชนะกูล [101.51.104.xxx] เมื่อ 11/09/2013 19:05
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :